Thursday, August 27, 2020

“ฝันให้ไกลและต้องไปให้ถึง” กับ ผศ.ดร.มงคลกร ศรีวิชัย ศิษย์เก่าวิศวกรรมโยธา ม.รังสิต - ผู้จัดการออนไลน์

misaltag.blogspot.com


ผศ.ดร.มงคลกร   ศรีวิชัย (หนุ่ม) ศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มาร่วมเล่าย้อนอดีตถึงเส้นทางชีวิตกับการก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และชีวิตในปัจจุบันกับบทบาทอาจารย์สอนวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงราย

อาจารย์หนุ่ม เล่าให้ฟังว่า พื้นเพเป็นคนจังหวัดเชียงราย แต่ไปเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตอนนั้นวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาแนะนำหลักสูตรการเรียนการสอนและทุนการศึกษาต่างๆ จึงสนใจ อีกทั้งได้สอบถามข้อมูลต่างๆ จากอาจารย์จากราชมงคลฯ ซึ่งอาจารย์ก็สนับสนุนให้เรามาหาความรู้และเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ กับสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ จึงสมัครสอบชิงทุน โครงการสู่ วศ.บ. ของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ในปี 2544

“ตอนนั้นมีเพื่อนๆ มาเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิตด้วยกัน 8 คน พอมาถึงมหาวิทยาลัยเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก มีกลุ่มนักศึกษาที่มาเรียนแบบพวกเราเยอะ มีทั้งแก๊งเหนือซึ่งก็คือพวกเรา แก๊งอีสาน แก๊งใต้ แก๊งเทคนิคนนท์ ฯลฯ พอพวกเรามาอยู่รวมกันก็เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลายจากเพื่อนๆซึ่งตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิตผมมีความสุขและสนุกกับการเรียนมากอาจเพราะด้วยความที่เรามีเพื่อนเยอะก็จะเกาะกลุ่มกันเรียน จับกลุ่มกันติว และทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน ไม่มีการแข่งขันทุกคนคอยช่วยเหลือและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันเสมอ”


ชีวิตนักศึกษาการมีเพื่อนเยอะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เราได้รับประสบการณ์นอกห้องเรียน ซึ่งอาจารย์หนุ่มในสมัยนั้นเป็นอีกหนึ่งคนที่รู้จักเพื่อนต่างคณะค่อนข้างมาก จึงนำไปสู่การได้รับโอกาสเข้าไปร่วมงานกับทีมสโมสรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต ในปี 2545

“ตอนนั้นผมเป็นประธานฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย อาทิ พิธีไหว้ครู งานลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งธีมงานของเราในตอนนั้นคือ “ลอยกระทงหลงวันมหัศจรรย์ทุ่งรังสิต” เพราะคิดว่าถ้าเราจัดงานลอยกระทงให้ตรงวันเลย เพื่อนๆ หลายคนอาจอยากไปเที่ยวในสถานที่ที่จัดงานใหญ่ๆ (คิดว่าน่าจะแย่งลูกค้ากัน) จึงจัดก่อน ซึ่งผลปรากฎว่ามีนักศึกษาและคนนอกให้ความสนใจเข้าร่วมงานเยอะมาก จำได้ว่าปีนั้นมีชิงช้าสวรรค์มาจัดที่ลานกิจกรรมของมหาวิทยาลัย 3 วง คนขึ้นชิงช้าสวรรค์เต็มทุกวงเลย อยากจะบอกว่าเป็นการทำกิจกรรมที่เหนื่อยมากแต่สนุกและถือเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ดีที่มากๆ”

หลังเรียนจบอาจารย์หนุ่มยังคงไม่หยุดที่จะต่อยอดความรู้ในสายวิชาชีพที่เรียนมา จึงสอบชิงทุนการศึกษา “โครงการปริญญาเอก กาญจนาภิเษก รุ่นที่ 8” เรียนต่อปริญญาโทควบเอกวิศวกรรมโยธา ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ และได้รับทุนเรียนดี ดร.อาทิตย์   อุไรรัตน์ อีกทุนหนึ่งโดยตอนทำวิจัยปริญญาเอกเลือกทำเกี่ยวกับเรื่อง พยากรณ์อากาศด้วยตัวเลข แต่ด้วยความที่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 (ม.รังสิต จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร) เกิดเหตุการณ์สึนามิ ดังนั้น หัวข้อวิจัยจึงเปลี่ยนเป็น “ระบบฐานข้อมูลเพื่อการเตือนภัยสึนามิสำหรับประเทศไทย”


“ช่วงที่เรียนปริญญาโทควบเอก ถือเป็นอีกช่วงหนึ่งที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตที่ดีมากๆ ตอนนั้นเราหารายได้จากการสอนพิเศษน้องๆ มัธยมที่อยากฝึกทักษะด้านการคำนวน และสอนหนังสือที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต และในปี 2554 หลังเรียนจบ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดตั้งศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัต โดยมี รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เป็นผู้อำนวยการ จึงย้ายมาประจำที่ศูนย์ฯ ซึ่งตอนทำงานก็ได้มีโอกาสได้เดินทางไปอบรมทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประเทศอังกฤษ และในปีเดียวกันตรงกับช่วงที่ประเทศไทยเกิดภัยพิบัตินำท่วมใหญ่ จึงทำงานร่วมกับสถานีโทรทัศน์ Thai PBS เกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยและการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ ในรายการ “รอบรู้สู้ภัยพิบัติ”

หลังจากทำงานที่ศูนย์ฯ ได้ประมาณ 2 ปี ก็คิดถึงบ้านและมีความคิดว่าอยากกลับไปพัฒนาบ้านเกิด ซึ่งประจวบเหมาะกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เปิดรับสมัครอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมโยธา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่อยากเต็มตัว


“จากเดิมที่เป็นคนคอยรับความรู้  มาเป็นคนถ่ายทอดความรู้  จากประสบการณ์ที่เราได้รับมาเราจึงนำมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังอย่างเต็มที่  เนื่องจากน้องๆ นักศึกษาอาจจะไม่มีโอกาสเข้าไปเรียนที่กรุงเทพ ผมก็พยายามส่งเสริมให้พวกเขามีองค์ความรู้ต่างๆ นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน  เช่น  พามาศึกษาดูงานการก่อสร้างศาลาดนตรีสุริยเทพ อาคารนันทนาการ  มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น   เพื่อที่นักศึกษาจะได้นำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนไปพัฒนาตนเองในอนาคตต่อไป

หลังจากกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดได้ 7 ปี นอกจากบทบาทหน้าที่การเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยที่กลับมาอยู่กับครอบครัวแล้ว อาจารย์หนุ่มยังนำเอาองค์ความรู้ต่างๆ ที่เคยทำกลับมาพัฒนาบ้านเกิด โดยการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนใกล้เคียง ต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่นักศึกษา  อาทิ  จัดโครงการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ อบต.เมืองพาน ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ได้รับรางวัลชุมชนปลอดขยะ จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมงานกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการการจัดการขยะ รวมถึงจัดกิจกรรมร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอย่างง่ายมาจัดการชุมชน อีกทั้งยังมีโครงการออกแบบบ้านพักเพื่อรองรับภัยพิบัติ เป็นต้นซึ่งในอนาคตมองว่าจะพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆที่เรามีให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสืบสานและพัฒนาชุมชนของเราให้มีองค์ความรู้ที่ยั่งยืนต่อไป


Let's block ads! (Why?)



"วิศวกรรม" - Google News
August 27, 2020 at 01:54PM
https://ift.tt/34DXGaW

“ฝันให้ไกลและต้องไปให้ถึง” กับ ผศ.ดร.มงคลกร ศรีวิชัย ศิษย์เก่าวิศวกรรมโยธา ม.รังสิต - ผู้จัดการออนไลน์
"วิศวกรรม" - Google News
https://ift.tt/2Mrzm1v
Share:

0 Comments:

Post a Comment