Wednesday, July 29, 2020

'ไฮโดรคลีน' ดีท็อกซ์เครื่องยนต์ ย้อนรอยจักรกลสู่แผนธุรกิจ - กรุงเทพธุรกิจ

misaltag.blogspot.com

30 กรกฎาคม 2563 | โดย ชญานิษฐ์ นกแก้ว

22

“ไฮโดรคลีน” เครื่องจักรกลดีท็อกซ์ 1 ใน 7 เครื่องจักรกลต้นแบบในปี 2563 จากโครงการ “วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า”เป็นการทำวิจัยในรูปแบบวิศวกรรมย้อนรอย โดยเป็นเครื่องทำความสะอาดห้องเผาไหม้ในรถยนต์ และเครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำ ช่วยลดมลพิษในอากาศ

การย้อนรอยวิศวกรรมเครื่องจักร ที่เน้นเพื่อการออกแบบใหม่ให้สามารถทดแทนการนําเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมบางประเภทที่มีปริมาณนำเข้ามูลค่าสูงจากต่างประเทศ เป็นการศึกษาเครื่องจักรกลอย่างละเอียดตั้งแต่โครงสร้าง ชิ้นส่วนจนถึงฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาผสมผสานกับสหวิทยาการที่มีอยู่ ใช้ทรัพยากรในประเทศ ในการออกแบบและสร้างเครื่องจักรกลต้นแบบให้เหมาะกับวิถีการผลิตแบบไทย (อาร์&ดี) โดยการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคมเครื่องจักรกลไทย

ดีท็อกซ์เครื่องยนต์ลดควันดำ

สัมฤทธิ์ แซ่เจียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์โกร จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้ผลิตก๊าซไฮโดรเจนมานานกว่า 10 ปี จึงเห็นองค์ความรู้จากต่างประเทศอย่างสหรัฐ ที่คิดค้นเทคโนโลยีใช้กับรถซูเปอร์คาร์เพื่อให้อัตราเร่งดีขึ้น จึงนำมาสู่การพัฒนา “ไฮโดรคลีน” (Hydroclean) เครื่องทำความสะอาดห้องเผาไหม้ภายในรถยนต์ ใช้เวลา 40-45 นาที โดยไม่จำเป็นต้องถอดเครื่องออกมาล้าง

159602575795

การถอดเครื่องยนต์ออกมาล้างทำความสะอาด ต้องใช้ช่างเทคนิคเฉพาะด้าน ทั้งยังใช้ระยะเวลานาน จึงเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดและอาจทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย แต่หากไม่มีการทำความสะอาดห้องเผาไหม้ และทิ้งคราบสะสมไว้เป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลงตามไปด้วย

“ไฮโดรคลีนนิ่ง” สามารถทำให้ห้องเผาไหม้เครื่องยนต์สะอาดขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมัน เพื่อยืดอายุการใช้งานและสมรรถนะให้กับเครื่องยนต์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ลดคราบเขม่าควันดำ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5 ในปัจจุบัน”

159602577444

นอกจากนี้ยังพบว่า เทคโนโลยีเครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนน้ำ ยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น อุตฯอัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับงานเชื่อมชิ้นงานที่ไม่ทิ้งเขม่าจากการเผาไหม้ อุตฯไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับงานเชื่อมสายท่อทองแดงและอุปกรณ์ไมโครชิพ อุตฯพลาสติกแผ่นอะคริลิคสำหรับงานปรับผิวให้เรียบใส อุตฯอบอ่อนและอบแข็งผิวทองและเงิน ที่ช่วยให้ผิวสะอาดและแวววาว

เบื้องต้นได้ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์และเมื่อทดลองใช้กับรถสากลทั่วไปพบว่า สามารถลดเขม่าควันดำลงได้ 45-50% ส่วนรถขนาดใหญ่อย่างรถบรรทุก รถโดยสารประจำทางสามารถลดเขม่าควันได้ถึง 50% แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพรถด้วยเช่นกัน

“แฟรนไชส์”พาธุรกิจเลเวลอัพ

สัมฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้กลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นผู้ให้บริการรถบรรทุกสิบล้อโลจิสติกและรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่มีจำนวนรถมาก จึงให้บริการในลักษณะแมสซึ่งมีค่าบริการไม่สูง แต่การบริการต่อครั้งจะต้องมีจำนวนที่พอเหมาะประมาณ 8-10 คัน ส่วนในอนาคตวางแพลนจะขยายสู่กลุ่มรถยนต์ส่วนตัว โดยจะขยายสเกลสู่ระบบมาสเตอร์แฟรนไชส์ (Master Franchises) หากมีบริษัทที่เปิดอู่ซ่อมรถก็สามารถนำเครื่องไปติดตั้งเพื่อเป็นบริการเสริม ส่วนอีกหนึ่งรูปแบบธุรกิจหากผู้ประกอบการบางรายมองว่าต้องใช้ต้นทุนสูง ทางบริษัทจะลงทุนในส่วนของเครื่องแล้วแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน

159602592233

“ต้นทุนของเทคโนโลยีนี้มีเพียงแค่ค่าไฟฟ้าสำหรับการทำงานของเครื่องต่อครั้ง 5 บาท ขณะที่การล้างเครื่องยนต์ทั่วไปโดยบุคลากรบริการ ต้นทุนอยู่ที่ 4-5 พันบาท แต่เมื่อใช้งานเครื่องนี้ต้นทุนจะอยู่ประมาณ 2 พันบาทต่อครั้งขึ้นอยู่กับคุณภาพเครื่องยนต์ หากเป็นรถที่ใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน เครื่องยนต์อาจจะเสื่อมสภาพ ดังนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง หากเป็นรถสภาพใหม่อาจจะเป็น 6 เดือน ถึง 1 ปีต่อครั้ง”

ส่วนการเข้าร่วมโครงการ “วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” สัมฤทธิ์ กล่าวว่า โครงการฯ ได้เปิดกว้างทำให้มีพาร์ทเนอร์เพิ่มขึ้นในเซกเตอร์ที่หลากหลาย ทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในด้านต่างๆ เช่น การเปิดโอกาสให้ทดลองร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย และการที่ อว.ถือความเสี่ยงในแง่ของการให้ทุน ทำให้เรามีโอกาสเจอกับตลาดใหม่ๆ มากขึ้น ภายในระยะเวลาโครงการเพียง 8 เดือน

159602593675

Let's block ads! (Why?)



"วิศวกรรม" - Google News
July 30, 2020 at 01:00PM
https://ift.tt/2XaQFKb

'ไฮโดรคลีน' ดีท็อกซ์เครื่องยนต์ ย้อนรอยจักรกลสู่แผนธุรกิจ - กรุงเทพธุรกิจ
"วิศวกรรม" - Google News
https://ift.tt/2Mrzm1v
Share:

0 Comments:

Post a Comment