Credit : CC0 Public Domain
เมื่อปีที่แล้วนักวิศวกรรมชีวเวชจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมมือกับนักวิจัยมะเร็งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าโปรตีนตัวรับ (Ciliary neurotrophic factor receptor-CNTFR) ที่ถูกออกแบบทางวิศวกรรม ช่วยหยุดการเติบโตของเนื้องอกในปอดของสัตว์ประเภทฟันแทะ
ปอด กระดูก หลอดเลือด และอวัยวะสำคัญอื่นๆ ในร่างกายคนจะประกอบด้วยเซลล์ วิธีหนึ่งที่ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีก็คือใช้สัญญาณโปรตีนที่เรียกว่าลิแกนด์ เป็นสสารนอกเซลล์ที่เชื่อมต่อกับตัวรับบนพื้นผิวของเซลล์เพื่อควบคุมกระบวนการทางชีวภาพของร่างกาย แต่หากสัญญาณเหล่านั้นเกิดสับสนก็จะทำให้คนป่วยเป็นโรคต่างๆได้ ล่าสุด ทีมวิจัยเดิมเผยว่าได้ปรับปรุงลิแกนด์ตัวหนึ่งในวิธีที่แตกต่างกันเล็กน้อยเพื่อสร้างผลลัพธ์ 2 แบบ การเปลี่ยนแปลงชุดแรกคือทำให้เซลล์ประสาท งอกใหม่ ส่วนชุดหลังคือยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกในปอด
อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเพียงการทดลองกับหนู ซึ่งยังห่างไกลจากการทดสอบในมนุษย์ แต่ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่านักวิจัยมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นในการควบคุมกลไกการควบคุมโปรตีนตามร่างกาย เพื่อช่วยให้อวัยวะสำคัญรักษาตัวเองได้ และคาดหวังว่าโปรตีนเหล่านี้จะสามารถใช้ในการรักษาโรคทางระบบประสาท โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน และโรคหลอดเลือดในอนาคตได้.
อ่านเพิ่มเติม...
"วิศวกรรม" - Google News
June 19, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/37HCsZ4
สร้างโปรตีนสู้มะเร็งและสร้างเซลล์ประสาท - ไทยรัฐ
"วิศวกรรม" - Google News
https://ift.tt/2Mrzm1v
0 Comments:
Post a Comment