Wednesday, June 10, 2020

รีวิวประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่วิศวะ TSE รั้วแม่โดม เรียนวิศวะได้อะไรมากกว่าที่คิด - Campus Star

misaltag.blogspot.com

ต้องยอมรับว่าการเรียนในระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเรียนคณะ/สาขา ในมหาวิทยาลัยไหน ย่อมมีความยากง่ายสอดแทรกอยู่เสมอ แต่หากเราเลือกที่จะมองว่า การเรียนในสาขานั้น ๆ มาพร้อมกับ “ความยาก” หรือมีความคิดที่ว่า “เรียนไม่ได้” นั้น ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ หรือทดสอบศักยภาพของตนเอง และพาตนเองถอยห่างจากความฝันที่เคยตั้งมั่นไว้

รีวิวประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่วิศวะ TSE รั้วแม่โดม

และเชื่อหรือไม่ว่า “เรียนวิศวะยากไหม?” เป็นคำที่ถูกค้นหาบนโลกอินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งความสงสัยนี้ก็อาจนำไปสู่ความลังเลใจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เอาเป็นว่าอย่าเพิ่งเดากันไปก่อนดีกว่า บทความนี้จะพาไปพบกับรุ่นพี่ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TSE คณะที่ได้รับเสียงตอบรับจากเด็ก TCAS63 จำนวนมาก ที่มาร่วมไขข้อข้องใจ พร้อมกับแชร์เทคนิคเรียนยังไงให้ดี และมีโปรไฟล์กิจกรรมควบคู่กันไปด้วย ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ตามมาอ่านกันเลย !!

นายรัฐพิทักษ์ ก้อพิทักษ์ (ซาร์ด)

“ความรับผิดชอบ ความอดทน และความขยัน จะพาไปสู่เป้าหมาย”

นายรัฐพิทักษ์ ก้อพิทักษ์ (ซาร์ด) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 4 เล่าว่า พอก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย การเรียนย่อมแตกต่างจากตอนที่เราอยู่มัธยมฯแน่นอน ในมหาวิทยาลัยเรามีอิสระมากขึ้น แต่มันก็ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สูงขึ้นเช่นกัน อย่างภาควิชาวิศวกรรมโยธาที่ผมเรียน จะต้องใช้ความจำและการทำความเข้าใจในส่วนของเนื้อหา กฎเกณฑ์ทางวิศวกรรมต่างๆ การคำนวณสูตร ใช้ฟิสิกส์เข้ามาต่อยอด รวมถึงการทำแล็บ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ของทฤษฎี ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าตื่นเต้นสำหรับผม และแม้จะดูเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลกใหม่มาก ๆ แต่มันก็ไม่ยากเกินความสามารถ เพราะตลอดเวลาที่เรียนหรือทำแล็บ จะมีอาจารย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีตรงไหนที่ไม่เข้าใจ ผมสามารถขอคำปรึกษาได้ตลอดเวลา”

นางสาวกวิสรา ซื่อตรง (ข้าวหอม)

“โฟกัสสิ่งที่จะได้รับ มากกว่าความยากของวิชาที่เรียน”

นางสาวกวิสรา ซื่อตรง (ข้าวหอม) โครงการหลักสูตร TU-PINE สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ชั้นปีที่ 2 เล่าว่า แต่ละสาขาวิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็มีความยากง่ายที่แตกต่างกันออกไป ส่วนความยากของวิศวกรรมซอฟต์แวร์อยู่ที่การเขียนโปรแกรม ที่เราจะได้เรียนการเขียนโปรแกรมในหลาย ๆ ภาษา ซึ่งแต่ละภาษาก็จะมีรูปแบบในการเขียนโค้ดที่แตกต่างกันออกไปอีก ทั้งนี้ การเขียนโปรแกรมยังต้องอาศัยความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย เช่น หากต้องการเขียนโปรแกรมที่ต้องสร้างเครือข่ายความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต ก็จะต้องมีความรู้ทางด้าน Network Security เป็นต้น

นายรมย์ พานิชกุล (รมย์)

“ทฤษฎีทำให้ได้รู้ แต่การลงมือปฏิบัติจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น”

นายรมย์ พานิชกุล (รมย์) โครงการหลักสูตร TEPE ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 เล่าว่า วิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับ กลศาสตร์ พลังงาน การควบคุม เน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งต่างๆ เป็นหลัก ดังนั้นความรู้พื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เพราะมันจะทำให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น หากมีตรงไหนที่ไม่เข้าใจ ก็สามารถถามอาจารย์ หรือจะปรึกษารุ่นพี่ในคณะได้เช่นกัน

สำหรับน้อง ๆ TCAS63 ที่สนใจศึกษาต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ใน TCAS รอบ 5 (รับตรงอิสระ) สามารถดูรายละเอียดและสมัครสอบได้ที่ โครงการหลักสูตร TEP-TEPE > tupine.engr.tu.ac.th และโครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ www.tupine.engr.tu.ac.th ตั้งแต่วันนี้ – 15 มิถุนายน 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ TSE โทร. 083-618-3410 หรือ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT , https://engr.tu.ac.th

บทความแนะนำ

Let's block ads! (Why?)



"วิศวกรรม" - Google News
June 11, 2020 at 01:01PM
https://ift.tt/2Yrdnxg

รีวิวประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่วิศวะ TSE รั้วแม่โดม เรียนวิศวะได้อะไรมากกว่าที่คิด - Campus Star
"วิศวกรรม" - Google News
https://ift.tt/2Mrzm1v
Share:

0 Comments:

Post a Comment